วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 15


        
              วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับ tablet ว่าเหมาะสมกับเด็ก ป.1หรือไม่ ดิฉันตอบว่า ไม่ค่อยเหมาะสมเพราะ เด็กป.1 ยังใช่ความคิดเยอะไม่ได้ เด็กช่วงนี้คิดว่า  tablet มีไว้เล่นเกม  ไม่ได้คิดว่ามีไว้ใช่เป็นสื่อการเรียนการสอนของตัวเอง







            และอาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่อง blogger ว่านักศึกษาพูดเกี่ยวกับอาจารย์แรงๆ ว่าอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง ทำให้อาจารย์เสียใจมาก และดิฉันก็เสียใจที่เพื่อนเขียนแบบนั้นทำให้อาจารย์ต้องร้องไห้








วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 14




          วันนี้อาจารย์ตรวจงาน blogger  แล้วได้คอมเม้นว่าจะไปปรับปรุงแก้ไขยังไงบ้าง ใส่สื่ออะไรลง

ไปใน  blogger บ้าง ตกแต่งให้สวย และตัวอักษรต้องเท่ากัน


            


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 13



       
          วันนนี้มีการร้องเพลงต่อจากอาทิตย์ก่อน  เพราะว่าหมดเวลาก่อน


  มีเพลง

1.  เพลง  นกน้อย

2.  เพลง  เด็กน้อยน่ารัก

3.  เพลง  ตาหุูจมูก

4.  เพลง  กินผัก ผลไม้



            และได้เล่านิทานต่อ

1.   กลุ่ม      เรื่อง ความสามัคคีของผีเสื้อ (เล่าด้วย เชือก)
                   
2.   กลุ่ม      เรื่อง ยักษ์ 2 ตนหัวใจเดียวกัน (เล่าไปพับไป)

3.   กลุ่ม      เรื่อง ชายขี้เบื่อ (เล่าไปพับไป)

4.   กลุ่ม      เรื่อง พระจันทร์ ยิ้ม (เล่าไปตัดไป)

5.   กลุ่ม      เรื่อง ดินสอวิเศษ (เล่าไปพับไป)

6.   กลุ่ม      เรื่อง เต่าขี้บ่น (เล่าด้วย เชือก)

7.   กลุ่ม      เรื่อง กระต่าบกับแครรอท (เล่าด้วย เชือก)

8.   กลุ่ม      เรื่อง เรือโจรสลัด (เล่าไปฉีกไป)

9.   กลุ่ม      เรื่อง หัวใจล้านดวง (เล่าไปฉีกไป)

10. กลุ่ม      เรื่อง เจ้าหมีกับผึ้งน้อย (เล่าไปตัดไป)

11. กลุ่ม      เรื่อง เพื่อน (เล่าไปวาดไป)

12. กลุ่ม      เรื่องนายพราน (เล่าไปตัดไป) กลุ่มดิฉันเองค่ะ      
    
                

                                                                 เรื่องนายพราน



             

                มีนายพรานคนหนึ่ง เดินทางออกหาของป่า  เขาเดินไปๆเรื่อย แร้วเขาก็พบกับผลไม้ป่าแต่มันยังไม่พอที่จะเข้าไปขายในหมู่บ้าน  นายพรานจึงออกเดินทางต่อไปอีก และนายพรายก็ได้เจอกับผลไม้ป่า ดอกไม้ป่า และของป่าอีกมากมาย นายพรานดีใจมากจึงรีบเก็บใส่ตระกล้าที่เขานำมา แล้วนายพราน็ออกเดินทางกลับบ้านเพื่อจะนำ ของที่ได้มาเก็บไว้กิน แลนำเข้าไปขายในหมู่บ้าน







วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 12






         วันนี้ทางคณะศึกษาได้จังานนิทรรศการอาเซี่ยน ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
      ที่มา  http://hilight.kapook.com/view/67028

รู้จัก  รู้จัก ประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2558



ประเทศอาเซียน




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

          ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน 

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 



บรูไน




1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่ 




กัมพูชา




2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

           อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่ 


อินโดนีเซีย



3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่ 



ลาว



4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

           อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่ 





มาเลเซีย

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่ 



ฟิลิปปินส์




6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่ 




สิงคโปร์




7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

           อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่ 



ประเทศไทย



8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

           อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่ 



เวียดนาม



9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 

           อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่ 




ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 

           อ่านข้อมูลประเทศพม่า ได้ที่นี่ 



ประเทศอาเซียน




          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

           1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

                มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

                ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

                ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

ความร่วมมือ


       3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน



วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 11



     
    อาจารย์ได้อธิบายการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาให้นักศึกษาฟัง และช่วยกันคิดคำขวัญการรณรงค์มางดเหล้าพรรษา


          มีดังนี้

1.กลุ่ม     จ      รู้ทั้งรู้สุราทำลายจิต  คิดสักนิดก่อนดื่มมัน
2.กลุ่ม     ว      รักครอบครัว  รักชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่มเหล้านะจ๊ะ 
3.กลุ่ม     ส      เลิกเหล้า  เลิกจนเทิดไท้องราชันย์
4.กลุ่ม     พ      เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
5.กลุ่ม     ธ,ท   เลิกเถอะ!! สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
6.กุล่ม     น      สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
7.กลุ่ม     ป      เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
8.กลุ่ม     ย      พี่จ๋ารักชีวิต รักครอบครัว อย่ามัวเมาสุราน้องขอร้อง
9.กลุ่ม     ต     บุรุษสตรีชะนีข้ามเพศโปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิก
                       ดื่มเหล้า
10.กลุ่ม   ร      เพื่อนเอ๋ยเหล้าเบียคือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
11.กลุ่ม   ด      ถ้ารักน้องจิง เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของเรา
12.กลุ่ม   ม     คิดสักนิด ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
13.กลุ่ม   ช     พ่อจ๋าสุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
14.กลุ่ม   ถ     อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
15.กลุ่ม   พ    โปรดหยุดเหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
16.กลุ่ม   บ     ประกาศช่วงนี้ชี้แนะ งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
17กลุ่ม   ล      มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความสุข จริงๆนะ


          และอาจารย์ก็ใหแต่งเพลงขึ้นมาแต่ต้องมีทำนองเพลงเดิม

กลุ่มของดิฉันได้เพลงนี้คือ

          
                เพลง บ้านหนูอยู่ไหน

 หนูจ๋า บ้านหนูอยู่ไหน         

 มีอะไรน่าสนใจบ้าง

คุณครู นั้นอยากรู้จัง 

เล่าให้ฟังบ้างได้ไหม

ทำท่าให้ดูก็ได้  

ท่าอะไรก็ตามใจหนู  

ลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลั้ลลา


              กลุ่มของเพื่อนก็มีเพลงดังนี้

1.    เพลง  สัตว์อะไร

2.    เพลง  เพื่อน
3.    เพลง  ดื่มนม
4.    เพลง  เต่า
5.    เพลง  เด็กๆตั้งใจเรียน
6.    เพลง  อู๊ด...อู๊ด..
7.    เพลง  เป็ดอาบน้ำฝักบัว
8.    เพลง  สบายตัว สบายใจ
9.    เพลง  ผีเสื้อของเรา
10.  เพลง  ออกกำลังกาย
11.  เพลง  ดื่มนมกันเถอะ




วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 10


  วันนี้ อาจารย์ได้จัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษา เรื่อง ช้างน้อยอัลเฟส ได้สะท้อนอะไรหลายๆอย่าง หลายๆด้าน


เรื่องแบบย่อๆ

         อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร
   
   

    แนวคิดสำคัญ


images/stories/alf35.png    แม้ว่าเราจะแตกต่างจากคนอื่นเราก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้


 images/stories/alf35.png    การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เราควรปฏิบัติอยู่เสมอ 


images/stories/alf35.png    เราควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ 









วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชดเฉย



 วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียน


           เนื่องจากไม่สบาย  (เป็นภูมิแพ้)

         






อาจารย์สอนชดเชย  ในเรื่องสื่อโทรทัศน์ครู  ให้เด็กๆนำมาเล่าให้เพื่อนฟัง

                 สาระที่ควรเรียนรู้ โดยปกติเป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์สำคัญ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก อย่างไรก็ตามครูควรทำความเข้าใจสาระที่ควรเรียนรู้ตามลักษณะการใช้ภาษาที่แฝงอยู่ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

(ดูของเพื่อนมาค่ะเนื่องจากไม่สบายไม่ได้เข้าเรียน)